จุดเริ่มต้นของโครงการ SILK

จุดเริ่มต้นของโครงการ SILK: ชุมชนนวัตกรรมผ้าไหมโคราช

มาทำความรู้กับ SILK หนึ่งในโครงการที่นำเอาความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเข้ามาสร้างนวัตกรรม พัฒนาแนวคิด และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ เพื่อต่อยอดอุตสาหกรรมไหมโคราช

ที่มาของคำว่า SILK มาจากคำว่า

  • S - Silk แปลว่า ผ้าไหม, ไหม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องการที่จะส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืน
  • I - Innovation แปลว่า นวัตกรรม คือเราจะสร้างนวัตกรรม พัฒนาแนวคิด หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ เพื่อต่อยอดอุตสาหกรรมไหมโคราช โดยใช้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
  • L - Leader แปลว่า ผู้นำ คือเราจะสร้างนวัตกรผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่อุตสาหกรรมไหม
  • K - Korat มาจากคำว่า โคราช หรือ "อุตสาหกรรมไหมโคราช"

จุดเริ่มต้นของโครงการ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง สร้างสรรค์นวัตกรรมและความยั่งยืน นอกจากนี้ยังมุ่งส่งเสริมให้นักศึกษามีความเป็นผู้ประกอบการ รองรับการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของโลกและตรงกับความต้องการของคนรุ่นใหม่ ดังนั้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและภาคีเครือข่าย จึงมีความต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาพื้นที่ตำบลเป้าหมายในเขตจังหวัดนครราชสีมา

โดยเน้นชุมชนที่ประกอบอาชีพและเศรษฐกิจฐานรากเกี่ยวข้องกับผ้าไหมโคราช โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมพร้อมใช้ และทักษะความเป็นผู้ประกอบการ เพื่อสร้างนวัตกรรมและนวัตกรชุมชนที่ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี จึงได้ดำเนินงานวิจัย “การพัฒนาชุมชนนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและทักษะความเป็นผู้ประกอบการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนผ้าไหมโคราช” หรือ โครงการ SILK ภายใต้โครงการวิจัยดังกล่าว จะประกอบไปด้วย 2 โครงการย่อย

โครงการย่อยที่ 1 : การพัฒนาชุมชนนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนผ้าไหมโคราช

โครงการย่อยที่ 2 : การพัฒนาชุมชนนวัตกรรมด้วยทักษะความเป็นผู้ประกอบการและการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนผ้าไหมโคราช

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  • เพื่อสร้างนวัตกรชุมชนที่สามารถต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ หรือธุรกิจที่เกี่ยวกับไหมหรือผ้าไหมโคราช อย่างน้อย 20 คน
  • เพื่อสร้างนวัตกรรมชุมชนที่เป็นผลิตภัณฑ์/บริการจากไหม หรือผ้าไหมโคราช รวมทั้งนวัตกรรมในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัลบนโลกเสมือนจริง อย่างน้อย 10 นวัตกรรม
  • เพื่อสร้างแพลตฟอร์มพื้นที่การเรียนรู้นวัตกรรมสำหรับพัฒนาชุมชนนวัตกรรม จำนวน 10 ตำบลและสร้างศูนย์การเรียนรู้เรื่องไหมในรูปแบบดิจิทัล
  • เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้องกับไหมหรือผ้าไหมโคราช อย่างน้อย 5 ธุรกิจ และเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในตำบลเป้าหมายให้มากกว่าร้อยละ 10

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

  • จำนวนชุมชนนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับไหม มีความสามารถในการพัฒนา พึ่งตนเองและจัดการตนเองจำนวน 10 ตำบล
  • จำนวนนวัตกรชุมชน 20 คน
  • จำนวนนวัตกรรมชุมชนที่พัฒนาขึ้น แล้วใช้ยกระดับรายได้หรือแก้ไขปัญหาสำคัญ ให้กับชุมชนได้ 10 นวัตกรรม
  • ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก/เศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่เป้าหมายบนฐานทุนทรัพยากร/วัฒนธรรมในพื้นที่ (ร้อยละ 10 ต่อปีจากฐานปี 2563)
  • จำนวนธุรกิจใหม่ จำนวน 5 ธุรกิจ
  • เกิดอาชีพใหม่ในสายงานสร้างสรรค์ จำนวนไม่น้อยกว่า 2 อาชีพ

ระยะเวลาการดำเนินโครงการวิจัย : 18 เมษายน 2565 – 17 เมษายน 2566

สถานะโครงการวิจัย : กำลังดำเนินงาน

ได้รับทุนสนับสนุนจาก : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

  • ดร.มัลลิกา สังข์สนิท หัวหน้าชุดโครงการ SUT Entrepreneurship
  • ดร.สรชัย กมลลิ้มสกุล หัวหน้าโครงการย่อยที่ 1 DigiTech
  • ดร.วิวัฒน์ นวลสิงห์ หัวหน้าโครงการย่อยที่ 2 SEDA
  • ผศ. ดร.พันทิพย์ ปิยะทัศนานนท์ ผู้ร่วมวิจัย สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ
  • ดร.ธรรมศักดิ์ เธียรนิเวศน์ ผู้ร่วมวิจัย สถานส่งเสริมและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
  • Mr.Lars Andersson ผู้ร่วมวิจัย SEDA
  • รศ. ดร.ศิริรัตน์ ทับสูงเนิน รัตนจันทร์ ผู้ร่วมวิจัย สาขาวิชาวิศวกรรมเซรามิก
  • รศ. ดร.สายันต์ แก่นนาคำ ผู้ร่วมวิจัย สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • ดร.อิทธิพล ฟองแก้ว ผู้ร่วมวิจัย สาขาวิชาฟิสิกส์
  • ดร.ศิริลักษณ์ ชุมเขียว ผู้ร่วมวิจัย สาขาวิชาขีววิทยา
  • ดร.ธวัชพงษ์ พิทักษ์ ผู้ร่วมวิจัย DigiTech
  • ดร.นิศาชล จำนงศรี ผู้ร่วมวิจัย DigiTech
  • นางสาวอภิสรา วิเชียร ผู้ช่วยวิจัย SUT Entrepreneurship
  • นายปิยะณัฐ ปิยะศิลป์ ผู้ช่วยวิจัย SUT Entrepreneurship
  • นางสาวสุขธิดา วาตรีบุญเรือง ผู้ช่วยวิจัย SUT Entrepreneurship
  • นางสาวรุ้งทิพย์ เผื่อนหมื่นไวย ผู้ช่วยวิจัย SUT Entrepreneurship
  • นางสาวณัฐสิรี เรืองพัฒนา ผู้ช่วยวิจัย SUT Entrepreneurship
  • นายภัทรพงศ์ ใจบุญลือ ผู้ช่วยวิจัย SUT Entrepreneurship
  • นายเอกบุรุษ บุญสร้อย ผู้ช่วยวิจัย SUT Entrepreneurship

ภาคีเครือข่ายภายนอกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หมายเหตุ : โครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความเป็นผู้ประกอบการ หรือ SUT Entrepreneurship